JFF2022slide
สมาคมครูภาษา
และวัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย

タイ国日本語日本文化教師協会
Japanese Language and Culture Teachers Association of Thailand (JTAT)

รายงานสรุปโครงการอบรมครูระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 ศูนย์อุราวะ

รายงานสรุปโครงการอบรมครูระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2556
ณ เจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์อุราวะ ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 7-27 เมษายน 2556

ผู้จัด

  1. สมาคมครูภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย (JTAT)
  2. ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JFBKK)
  3. ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น Urawa ประเทศญี่ปุ่น (JFNC)

1. จุดประสงค์ของโครงการ

1.1 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นและความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นจากประสบการณ์ตรง

1.2 เพื่อให้ได้รวบรวมสื่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมที่สามารถนาไปใช้กับผู้เรียนของตน

2. จำนวนผู้เข้าอบรม อาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นระดับมัธยมศึกษา จำนวน 22 คน
                         ผู้ประสานงานชาวไทย จำนวน 1 คน (อาจารย์อัจฉรา โหตรภวานนท์)

3. ค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ

ผู้เข้าอบรมเสียค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ รวมประมาณคนละ 40,000 บาท

  • ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) – โตเกียว (นาริตะ) ของสายการบินไทย(TG) ราคา 22,980 บาท
    (ราคาพิเศษ สำหรับภาคราชการ จัดซื้อพร้อมกันเป็นกลุ่มในนามสมาคมฯ)
  • ค่าเดินทาง ค่ากิจกรรมในประเทศญี่ปุ่น รวมการไปทัศนศึกษาที่ฮาโกเน่ ประมาณ 10,000 บาท
    (อัตราแลกเปลี่ยน ณ เดือน เมษายน 100 เยน ประมาณ 31 บาท)
  • ค่าอาหารวันเสาร์อาทิตย์ และค่าเดินทาง ประมาณ 4,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการยื่นขอวีซ่า 535 บาท และค่าตรวจสุขภาพ ประมาณ 1,000 บาท
    • อนึ่ง ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า โดยความอนุเคราะห์ของเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
  • JFNC อนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายในเรื่องการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร (ในวันธรรมดา)
    ค่าประกันชีวิต และ JFBKK อนุเคราะห์ค่าตั๋วเครื่องบินให้ผู้ประสานงาน

4. เนื้อหาของกิจกรรมการอบรม
     แบ่งผู้เข้าร่วมโครงการออกเป็น 2 ห้อง
     Class 1 จำนวน 12 คน อาจารย์ประจำชั้นเรียน คือ อ.อิคุตะ มาโมรุ
     Class 2 จำนวน 10 คน อาจารย์ประจำชั้นเรียน คือ อ.คิตะมุระ ทาเคชิ

4.1 การฝึกใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตจริง โดยมีการดำเนินกิจกรรมเป็น 4 หัวเรื่อง
     1) การสำรวจสถานที่ใกล้ๆในบริเวณรอบศูนย์ภาษา (ご近所オリエンテーリング)
     2) การทัศนศึกษาโตเกียว (東京オリエンテーリング)
     3) การทัศนศึกษาเมืองคาวาโงเอะ (川越オリエンテーリング)
     4) การเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมต้นทาจิมะ (さいたま市立田島中学校訪問)
รวมทั้งทำกิจกรรรมแลกเปลี่ยนกับนักเรียนและนักศึกษาในสถาบันดังกล่าว
         กิจกรรมการอบรมในแต่ละหัวข้อ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
         – ขั้นเตรียมตัวด้านภาษา
         – ขั้นใช้ภาษาในประสบการณ์จริง และ
         – ขั้นรายงานข้อมูล

     ในขั้นการเตรียมตัวด้านภาษา ผู้เข้าอบรมฝึกภาษาก่อนใช้จริง เช่น ฝึกสนทนาถามเวลาเปิด-ปิดวันหยุดประจำของสถานที่ต่างๆ ฝึกถามวิธีการเดินทาง ฝึกฝนสำนวนภาษาในการสอบถามทาง จากนั้นเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ และศึกษาข้อมูลแผนที่และวิธีการเดินทาง ค่าใช้จ่าย และเวลาที่ใช้ในการเดินทางก่อนเดินทางจริง เช่น สืบค้นข้อมูลวิธีเดินทางด้วยรถไฟจากเว็บไซต์ ジョルダン (www.jorudan.co.jp) ข้อมูลพื้นฐานในเกี่ยวกับสถานที่ที่จะไปเยี่ยมชม เนื้อหาที่จะไปพูดคุยกับนักเรียน ข้อมูลแนะนำประเทศไทย วัฒนธรรมไทยในรูปแบบ Quiz Game เป็นต้น

     ในขั้นใช้ภาษาในประสบการณ์จริง ผู้เข้าอบรมได้ใช้ภาษากับคนญี่ปุ่นจริงๆ เช่น คนขายของ เจ้าหน้าที่ที่สถานีรถไฟนักเรียนมัธยม เช่น อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นของ JFNC หรือชาวญี่ปุ่นอื่นๆ ที่พบระหว่างการเดินทางนอกจากนี้ การสำรวจโตเกียว มีอาสาสมัครชาวญี่ปุ่นร่วมเดินทางไปด้วย ผู้อบรมจะได้ฝึกสนทนาหรือสอบถามข้อมูลที่ตนสนใจเป็นภาษาญี่ปุ่น และการไปสำรวจเมืองคาวาโงเอะ ได้แบ่งผู้อบรมเป็นกลุ่มย่อยๆ มอบหมายชิ้นงาน(タスク) เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับประวัติของสถานที่ อาหารท้องถิ่น ของขึ้นชื่อของสถานที่นั้นๆ หรือสิ่งที่อยากจะแนะนำให้ผู้อบรมอื่นทราบ เป็นต้นใน

     ในขั้นรายงานข้อมูล ผู้เข้าอบรมเสนอผลงานเป็นภาษาญี่ปุ่น ในรูปแบบ power point presentation รวมทั้ง Clip Video ภาพถ่ายของสถานที่ต่างๆ ที่สำรวจมา เวลาทำการ พร้อมชาวญี่ปุ่นที่ได้เข้าไปพูดคุย สอบถามเส้นทาง ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่ไปเยี่ยมชม สิ่งของและเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ตนสนใจในที่ค้นพบจากการสำรวจละแวกใกล้เคียง การสำรวจโตเกียว คาวาโงเอะ และข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนและกิจกรรมในโรงเรียนมัธยมญี่ปุ่น โดยมีอาจารย์รับฟังการนำเสนอและแสดงความคิดเห็นในตอนท้าย

4.2 การแนะนำสื่อการเรียนการสอนภาษา ผู้เชี่ยวชาญของ JFNC แนะนำสื่อการสอน เว็บไซต์ Erin และผู้เข้ารับการอบรมรวบรวมวัสดุการเรียนการสอนที่ตนสนใจ เช่น ใบปลิว ตั๋วรถไฟ กล่องขนม ป้ายต่างๆ

4.3 การสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งชุดยูคะตะ(浴衣着付け) การทำผ้ามัดย้อมญี่ปุ่น(藍染ハンカチ) และยังได้สัมผัสวัฒนธรรมด้วยการพักค้างคืนที่โรงแรมแบบญี่ปุ่น(旅館) และการแช่น้ำพุร้อน(温泉)

4.4 แนะนำเกี่ยวกับการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ผู้เชี่ยวชาญของเจแปนฟาวน์เดชั่นที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น (JLPT) มาให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการสอบ และแนะนำตัวอย่างข้อสอบระดับ N 3

ประโยชน์ที่ได้รับของผู้เข้าอบรม
1. ผู้เข้าอบรมได้ใช้ภาษาในสถานการณ์จริงทำให้มีความมั่นใจในการสอนมากขึ้นและเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นดียิ่งขึ้น
2. ผู้เข้าอบรมสามารถรวบรวมสื่อการสอนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนที่เหมาะกับชั้นเรียนของตน

ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ

1. ผู้อบรมมีความพึงพอใจกับสถานที่พัก และโปรแกรมการอบรมในภาพรวม
2. อยากให้มีการจัด Home stay และกิจกรรมสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากกว่านี้ เช่น การจัดดอกไม้ (生け花) หรือ พิธีชา นอกเหนือไปจากการแต่งชุดยูคาตะ
3. การไปท่องเที่ยวฮาโกเน่ เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวทั้งสองวันเป็นเส้นทางที่ซ้ำซ้อนกัน ทำให้รู้สึกไม่ค่อยน่าสนใจ
4. ผู้อบรมอยากมีเวลาอิสระมากกว่านี้

ข้อสังเกตจากผู้ประสานงาน
1. ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์อุราวะที่แตกต่างจากศูนย์คันไซ
(1) แบบฟอร์ม เอกสารประวัติส่วนตัว ใบตรวจสุขภาพ หรือข้อมูลเกี่ยวกับอาหารแตกต่างกับศูนย์คันไซ
(2) ชั่วโมงเรียนของศูนย์อุราวะ ภาคเช้าระหว่างเวลา 9:30-12:20 น. และ ภาคบ่าย เวลา 13:45-15:35 น.
(3) ห้องอาหารของศูนย์อุราวะเปิดให้บริการเฉพาะวันจันทร์-วันศุกร์เท่านั้น
(4) ห้องสมุดเปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ตั้งแต่ 10:00-19:00 น.
(5) ศูนย์ฯ มอบโทรศัพท์มือถือ 1 เครื่องแก่ผู้ประสานงาน สำหรับใช้งานตลอดระยะเวลาของโครงการ

2. มีปัญหาและความสับสนในวันเดินทางไปยื่นวีซ่า เนื่องจากผู้เข้าอบรมหลายคนเปลี่ยนใจกะทันหัน ไปทำพาสปอร์ตสำหรับข้าราชการ ทำให้ต้องติดต่อประสานงานและทำเรื่องขออนุญาต และมีผู้อบรมบางท่านเอกสารไม่พร้อมในการยื่นวีซ่าจึงใช้วิธีเปลี่ยนตามเพื่อนๆ ไปทำพาสปอร์ตข้าราชการ โดยไม่ได้แจ้งผู้ประสานงานล่วงหน้า ดังนั้นในอนาคตเพื่อตัดปัญหาความยุ่งยาก อาจจะต้องระบุให้ชัดเจนว่า คนที่ไม่มีพาสปอร์ตข้าราชการทุกคนต้องยื่นขอวีซ่าเท่านั้น

3. ในช่วงต้นเดือนมีนาคม มีคนไทยที่ต้องการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ต้องใช้เวลาในการยื่นยาวนานกว่าปกติ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ควรออกเดินทางไปยื่นวีซ่าโดยเร็ว โดยอาจส่งคนล่วงหน้าไปกดบัตรคิวไว้ก่อน เนื่องจากว่าใช้เวลารอกว่าจะถึงคิวที่ได้รับมากกว่า 2 ชั่วโมง

4. ศูนย์ฯ จัดทำ share folder เอกสารชื่อ Tsugumi ไว้ประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในศูนย์ฯ สำหรับผู้อบรมนำไฟล์งาน ภาพถ่าย รวมทั้งข้อมูลต่างๆ มาเก็บไว้ เพื่อแลกเปลี่ยนและสามารถดึงไฟล์มาเปิดเพื่อนำเสนองานในห้องเรียนได้ทันที ทำให้ผู้อบรมสามารถจัดทำผลงานและแชร์ไฟล์ได้สะดวก

5. กิจกรรมการสำรวจโตเกียว ผู้อบรมแต่ละกลุ่มจะเดินทางไปพร้อมกับอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น

6. กิจกรรมการสำรวจเมืองคาวาโงเอะ มีอาจารย์ประจำศูนย์ฯ 2 คน เดินทางล่วงหน้าไปรอตามจุดนัดหมาย (check point) ต่างๆ เพื่อตรวจสอบจำนวนผู้อบรม และในจุดนัดหมายสุดท้ายก็อนุญาตให้ผู้อบรมแยกย้ายกันท่องเที่ยวตามอัธยาศัยและเดินทางกลับศูนย์เอง

7. ผู้ประสานงานเป็นผู้นำคณะผู้อบรมเดินทางไปทัศนศึกษาฮาโกเน่ ไปเพียงลำพัง ซึ่งค่อนข้างลำบากในการนำกลุ่มคนจำนวนมากเดินทางไกลไปตามเส้นทาง ที่ต้องขึ้นลง พาหนะต่างๆ ตามเวลาที่กำหนด อีกทั้งผู้ประสานงานเองและผู้อบรมก็ไม่รู้จักหรือเคยเดินทางไปมาก่อน หากมีเจ้าหน้าที่ของทางศูนย์ไปด้วย คงจะสะดวกขึ้น

8. การไปเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมต้นทาจิมะ ทางฝ่ายโรงเรียนไม่ได้เตรียมกิจกรรมรองรับกับการไปเยี่ยมชมของเรา เน้นการให้คณะผู้อบรมเดินชมชั้นเรียนตามอัธยาศัย โดยไม่มีครูผู้ประสานงานนำไป และช่วงเวลาในการชมชั้นเรียนนั้นนานเกินไป คือ 3 คาบ และในช่วงการสนทนาแลกเปลี่ยนทางโรงเรียนจัดสรรเวลาสำหรับการแลกเปลี่ยนเพียง 30 นาที จัดนักเรียนมาเพียง 11 คน เท่านั้น ทำให้ต้องกระจายนักเรียนไปตามกลุ่มต่างๆ ซึ่งทางโรงเรียนแจ้งไว้ให้เราแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ในขณะที่ผู้อบรมได้เตรียมกิจกรรม คำถาม เกมมากมายรวมทั้งการแสดง ทำให้ต้องตัดกิจกรรมการแสดงไป

ภาคผนวก
1. รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการอบรม ครั้งที่ 6 ณ ศูนย์อุราวะ ประจำปี พ.ศ. 2556
2. กำหนดการโดยละเอียด
3. ประมวลภาพกิจกรรม

รายชื่อผู้อบรม ณ ศูนย์อุราวะ 7-27 เม.ย.2556
JTAT Urawa 2013

 ชื่อ นามสกุลสถาบันหมายเหตุ
1น.ส.ธนวรรณ สัตถาผลโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา 
2น.ส.สุพัตรา พัฒนาโรงเรียนกำแพงวิทยา 
3น.ส.ดารากันย์ เจริญจิตต์โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
4น.ส.สารฤทธิ์ โพธิราชโรงเรียนวชิรธรรมสาธิต 
5น.ส.มาฆพร ก้านพลูโรงเรียนกัลยาณวัตร 
6นาย มานิต วงศ์มูลโรงเรียนอุตรดิตถ์ 
7น.ส.จุติพร รอดเที่ยงโรงเรียนวัดน้อยนพคุณ  
8น.ส.โสภา โย่ทูโรงเรียนบ้านแม่ขะปู  
9น.ส.ธนาวรรณ รัตนเนนย์โรงเรียนวิทยานุกูลนารี  
10นาย อินทัช ตั้งปนิธานดีโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 
11น.ส.กานต์ธีรา นันต๊ะแก้วโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี 
12ว่าที่ ร.ต.หญิง ธิดารักษ์ โมเล็กโรงเรียนราชินีบูรณะ  
13น.ส.สุวัฒนา เลิศมโนรัตน์โรงเรียนปัญญาประทีป  
14น.ส.ฉัตรสุดา บุญเสริมโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย 
15นาย ชานันท์ สุนทรวินิตโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี 
16น.ส.สุมาลี รอดเงินโรงเรียนดัดดรุณี 
17น.ส.ศิริรัตน์ กิจจตุรพรชัยโรงเรียนเสาไห้ วิมลวิทยานุกูล 
18น.ส.สุธาสินี สุขวิเศษโรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ 
19น.ส.แสงโสม มนูเสวตโรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน 
20น.ส.ฉวีวรรณ ญานรักษ์โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร 
21น.ส.ศศิภัทร์ นุ่มน้อยโรงเรียนสอนภาษาและภูมิปัญญาตะวันออก 
22น.ส.ศศิวิมล โพธิ์แก้วโรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร  
23น.ส.อัจฉรา โหตรภวานนท์มหาวิทยาลัยรังสิตผู้ประสานงาน

ประมวลภาพกิจกรรม