รายงานสรุปโครงการอบรมครูระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2556
ณ เจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 7-27 เมษายน 2556
ผู้จัด
- สมาคมครูภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย (JTAT)
- ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JFBKK)
- ศูนย์ภาษาญี่ปุ่นคันไซประเทศญี่ปุ่น (JFKC)
1. จุดประสงค์ของโครงการ
1.1 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาญี่ปุ่นและความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นจากประสบการณ์ตรง
1.2 เพื่อให้ได้รวบรวมสื่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมที่สามารถนาไปใช้กับผู้เรียนของตน
2. จำนวนผู้เข้าอบรม อาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นระดับมัธยมศึกษา จำนวน 25 คน
ผู้ประสานงานชาวไทย จานวน 1 คน (อาจารย์อาภาพร เนาสราญ)
3. ค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ
ผู้เข้าอบรมเสียค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ รวมประมาณคนละ 40,000 บาท
– ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) – โอซาก้า (คันไซ) ของสายการบินไทย(TG) ราคา 23,015 บาท
(ราคาพิเศษ สาหรับภาคราชการ จัดซื้อพร้อมกันเป็นกลุ่มในนามสมาคมฯ)
– ค่าเดินทาง ค่ากิจกรรมในประเทศญี่ปุ่น รวมการไปทัศนศึกษาที่เกียวโต ประมาณ 10,000 บาท
(อัตราแลกเปลี่ยน ณ เดือน เมษายน 100 เยน ประมาณ 31 บาท)
– ค่าอาหารวันเสาร์อาทิตย์ และค่าเดินทาง ประมาณ 4,000 บาท
– ค่าธรรมเนียมการยื่นขอวีซ่า 535 บาท และค่าตรวจสุขภาพ ประมาณ 1,000 บาท
* อนึ่ง ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า โดยความอนุเคราะห์ของเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจาประเทศไทย
– JFKC อนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายในเรื่องการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร (ในวันธรรมดา) ค่าประกันชีวิต และ JFBKK อนุเคราะห์ค่าตั๋วเครื่องบินให้ผู้ประสานงาน
– เมื่อไปถึงญี่ปุ่นผู้ประสานเก็บรวบรวมเงินผู้เข้าอบรมคนละ 40,000 เยน เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรม และการทัศนศึกษาที่เกียวโต เมื่อสิ้นสุดการอบรม ได้คืนเงินแก่ผู้เข้าอบรมคนละประมาณ 10,000 เยน จึงเท่ากับว่ามีค่าใช้จ่ายที่ญี่ปุ่นคนละประมาณ 30,000 เยน หรือประมาณ 10,000 บาท
4. เนื้อหาของกิจกรรมการอบรม
แบ่งผู้เข้าอบรมเป็นจำนวน 6 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มมีผู้ที่มีความสามารถทางภาษา และประสบการณ์การสอนคละเคล้ากันไป (แบ่งกลุ่มโดยปรึกษากับอาจารย์ประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ) ในชั้นเรียนแบ่งออกเป็นเรียนรวมกันทั้ง 6 กลุ่ม และเมื่อทำกิจกรรมจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ต่อ 1ห้องเรียน
อาจารย์รับผิดชอบคอร์สอบรมจำนวน 4 ท่าน ได้แก่ อ.มิอุระ ทาคาชิ อ.นากาจิมะ โทรุ อ.อิชิอิ โยโกะ และอ.อาเบะ ยูโกะ โดยอาจารย์ทั้ง 4 ท่านจะหมุนเวียนเปลี่ยนกันรับผิดชอบแต่ละห้องเรียน
กิจกรรมการอบรมที่ศูนย์คันไซแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
4.1 การฝึกใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตจริง (日本語と体験) โดยมีการดำเนินกิจกรรมเป็น 4 หัวเรื่อง
1) การสำรวจเมืองโอซาก้า
2) การสำรวจเมืองโกเบ : เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยมุโคกะวะ(武庫川女子大学) พร้อมทำกิจกรรมแลกเปลี่ยน กับนักศึกษา และทัศนศึกษาเรียนรู้เรื่องแผ่นดินไหวที่ศูนย์ป้องกันภัยพิบัติ (人と防災未来センター)
3) เยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมปลายอาซาฮี(大阪府立旭高校) พร้อมทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนกับนักเรียน ในแต่ละกิจกรรมจะมีการเตรียมความพร้อมในห้องเรียนก่อน แล้วจึงปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน จากนั้นกลับมารายงานผลหน้าชั้นเรียน ดังแผนภูมิ
ขั้นเตรียมตัว เป็นขั้นตอนการเตรียมตัวฝึกการใช้ภาษาก่อนนำไปปฏิบัติจริงนอกชั้นเรียน เช่น การเรียนรู้Kansai ben การฝึกดูแผนที่ การเปลี่ยนรถไฟ ตารางรถไฟ การฝึกสอบถามทางเป็นภาษาญี่ปุ่น การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของสถานที่ที่จะไปเยี่ยมชม การเตรียมข้อมูลพูดคุยกับนักเรียนนักศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด เช่น การใช้เวลาในยามว่าง กฎระเบียบของโรงเรียน ชีวิตในโรงเรียน เป็นต้น เตรียมข้อมูลประเทศไทย โรงเรียนในเมืองไทย กิจกรรม เกมส์ ต่างๆ
ขั้นปฏิบัติ ผู้เข้าอบรมได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในสถานการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามทาง สอบถามข้อมูลเพื่อกลับมารายงานหน้าชั้นเรียน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษามหาวิทยาลัย และนักเรียนมัธยมปลาย ในการทำกิจกรรมนอกสถานที่จะมีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อสะดวกในการดำเนินกิจกรรม
ขั้นรายงานผล ผู้เข้าอบรมได้นำเสนอผลงานหลังจากที่ได้ไปปฏิบัติจริงตามหัวข้อTask ที่ได้รับมอบหมาย โดยนำเสนอเป็นกลุ่มในรูปแบบ Power Point, Poster, ไฟล์เสียง รูปภาพ และคลิปวีดีโอ โดยมีทั้งอาจารย์ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ท่านอื่นมาร่วมฟัง และแสดงความคิดเห็นด้วย นอกจากการรายงานผลด้วยการพูดแล้ว ยังมีการรายงานผลด้วยการเขียนรายงาน บรรยายข้อเท็จจริงและความรู้สึกหลังจากที่ได้รับประสบการณ์อีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาภาษาญี่ปุ่นในทักษะทุกด้าน
ในการอบรมสัปดาห์สุดท้าย มีการรายงานผลในหัวข้อ 「日本体験報告会」เป็นการรายงานเกี่ยวกับความประทับใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นผ่านการอบรมในครั้งนี้ โดยรายงานเป็นกลุ่มย่อย 6 กลุ่มตามที่แบ่งไว้ตั้งแต่ต้น ตามหัวข้ออิสระ ดังนี้ ①「なんばで」②ヤバイ日本 ③関西弁での体験 ④クールジャパン ⑤日本の魅力 ⑥忘れられないこと
4.2 การแนะนำสื่อการเรียนการสอนภาษา (日本語教育リソース)
JFKCแนะนำการใช้ห้องสมุดของศูนย์ รวมถึงตำราและสื่อการสอนภาษาญี่ปุ่นต่างๆ โดยJFKCอนุเคราะห์งบประมาณแก่ผู้เข้าอบรมคนละ 4,000 เยน เพื่อจัดซื้อตำราและสื่อการสอน หากไม่เพียงพอผู้เข้าอบรมสามารถซื้อตำราเพิ่มเติมจากงบประมาณส่วนตัวของแต่ละคน
ผู้เชี่ยวชาญของJFKCแนะนำเวบไซต์การเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นต่างๆ รวมถึง e-learning โดยรวบรวมและทำเป็นลิสต์แจกให้ผู้เข้าอบรมเพื่อนำไปใช้ได้จริงในชั้นเรียนต่อไป
ในการอบรมสัปดาห์สุดท้าย มีการรายงานผลในหัวข้อ 「リソース共有」หรือการรายงานผลการแลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูล เป็นผลการรายงานจากการรวบรวมและจัดทำสื่อการสอนในฐานะอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่น เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แล้วสามารถนำกลับไปใช้สอนได้จริงในชั้นเรียนของตนต่อไป การรายงานนี้แบ่งกลุ่มตามความสนใจของแต่ละคน ไม่จำกัดจำนวนคนและจำนวนกลุ่ม มี 7 หัวข้อดังนี้ ①日本の看板 ②日本で発見した面白いもの ③抹茶について ④犬と散歩のルール ⑤神社とお寺 ⑥日本の機械の使い方 ⑦温泉について
4.3 การสัมผัสสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น (文化体験・社会体験)
ระหว่างอบรมที่ศูนย์JFKCมีกิจกรรมด้านวัฒนธรรม 3 อย่างคือ การใส่ชุดกิโมโน(着物の着付け体験) การตีกลองญี่ปุ่น(和太鼓)และฝึกร้องเพลงภาษาญี่ปุ่น ได้แก่ เพลง「桜」(河口(かわぐち)恭(きょう)吾(ご))、 「春が来た」、「ドラえもん」ทุกคนได้ร่วมร้องเพลง「桜」ในพิธีปิดด้วยกัน
ในระหว่างไปทัศนศึกษาที่เกียวโตผู้เข้าอบรมยังได้เรียนรู้และสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นอื่นๆ อีก ได้แก่ การแช่น้ำพุร้อน(温泉) และได้พักโรงแรมแบบญี่ปุ่น การรับประทานอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมของเกียวโต การเพ้นท์ผ้ากิโมโนแบบยูเซน(友禅染(ゆうぜんぞめ))การใช้ผ้าห่อของแบบฟุโรชิคิ (風呂敷)การทำขนมญี่ปุ่น(和菓子(わがし))
ประโยชน์ที่ได้รับของผู้เข้าอบรม
1. ผู้เข้าอบรมได้ฝึกการใช้ภาษาญี่ปุ่นในสถานการณ์จริง รวมถึงการรายงานผลเป็นภาษาญี่ปุ่น การเขียนเรียงความเป็นภาษาญี่ปุ่น กล่าวได้ว่าได้พัฒนาทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตลอดระยะเวลาการอบรม 3 สัปดาห์ จึงมีความมั่นใจในการใช้ภาษามากขึ้น
2. ได้เรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมและสังคมญี่ปุ่นผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและนอกห้องเรียน ซึ่งจะได้นำไปปรับใช้ในชั้นเรียนภาษาญี่ปุ่นของตนต่อไป
3. สามารถรวบรวมสื่อการสอนภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตจริง (生教材)สื่อการสอนที่แต่ละกลุ่มจัดทำขึ้นและนำมาแลกเปลี่ยนกันกลับไปใช้ประโยชน์ที่ชั้นเรียนของตน
ข้อสังเกตจากผู้ประสานงาน
1. ตอนนัดพบกันที่สนามบินสุวรรณภูมิในขาไป ได้นัดเวลา 20.00 แต่มีผู้เข้าอบรม 3 คนที่มาไม่ตรงเวลา และไม่มีการติดต่อแจ้งมา ผู้ประสานงานโทรศัพท์ติดต่อหลายครั้งกว่าจะติดต่อแต่ละคนได้ เนื่องจากผู้ประสานถือหนังสือเดินทางของทุกคนไว้ (ยกเว้นหนังสือเดินทางราชการ) จึงสามารถทำการเช็คอินเป็นกลุ่มได้ก่อน แล้วผู้เข้าอบรมแต่ละคนนำบอร์ดดิงพาสไปฝากกระเป๋าเดินทางที่เคาเตอร์เอง ผู้ประสานงานจึงให้ทุกคนที่เช็คอินเรียบร้อยแล้ว เข้าไปด้านในก่อน ส่วนผู้ประสานงานรอผู้เข้าอบรมที่ยังไม่มา คนสุดท้ายเดินมาถึงสนามบินประมาณ 21.30
2. ตลอดระยะเวลาการอบรม 3 สัปดาห์ ทางศูนย์ได้จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมด้านการฝึกใช้ภาษาญี่ปุ่นในสถานการณ์จริง ที่มีการเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าร่วมก่อน แล้วลงมือปฏิบัติ จึงทำให้แต่ละคนมีความกล้าและมั่นใจมากขึ้นที่จะใช้ภาษา กิจกรรมด้านภาษาได้พัฒนาทุกทักษะ จากการสังเกตของผู้ประสานงานพบว่าการพูดรายงานผลหน้าชั้นเรียนทุกคนกลุ่มเตรียมตัวได้ค่อนข้างเร็ว และพูดได้อย่างคล่องแคล่ว ตรงข้ามกับกิจกรรมการเขียนรายงาน ที่ค่อนข้างใช้เวลา แสดงให้เห็นว่าทักษะด้านการเขียนยังต้องพัฒนาอีก นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมยังได้เรียนรู้และสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่นด้วย สังเกตได้ว่าผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในแต่ละกิจกรรมพอสมควร
3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนกับนักศึกษามหาวิทยาลัยมีเวลาน้อยเกินไป(20นาที) ผู้เข้าร่วมบางคนต้องการพูดคุยแลกเปลี่ยนมากกว่านี้เนื่องจากนักศึกษาอยู่ในวัยที่เป็นผู้ใหญ่แล้วจึงมีหัวข้อสนทนามาก กลุ่มในการทำกิจกรรมแบ่งจำนวน4-5 คนต่อกลุ่ม ซึ่งมีจำนวนเท่าๆ กับคณะผู้เข้าอบรมของJTAT ในขณะที่กิจกรรมแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนมัธยมปลายได้พูดคุยกับนักเรียนถึงสองรอบ รอบละ20นาที จำนวนนักเรียนมัธยมในแต่ละรอบมีถึง 80 คน จึงต้องแบ่งผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มย่อย เพียงกลุ่มละ 2-3 คน ถือเป็นเรื่องน่ายินดี ที่ทางมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมให้ความสนใจในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับครูสอนภาษาญี่ปุ่นชาวไทยมากถึงเพียงนี้
4. กิจกรรมเก็บสตรอเบอร์รี่ก่อนเดินทางไปทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนกับโรงเรียนมัธยม เจ้าของสวนเข้าใจผิดเรื่องเวลา ทำให้เกิดการล่าช้าในการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆของสวน เนื่องจากต้องไปถึงโรงเรียนมัธยมให้ทันตามเวลา จึงทำให้การเก็บสตรอเบอร์รี่เหลือเวลาเพียง 30 นาที จากที่กำหนดไว้ 45 นาที จึงทำให้ทุกคนต้องเร่งรีบมากเกินไป
5. กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ทุกที่ จะมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์JFKC คือคุณคุเร ประสานงานต่างๆ และร่วมเดินทางไปด้วย ทำให้การจัดการทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้เข้าอบรมโดยส่วนใหญ่รักษาเวลา จึงไม่ค่อยมีปัญหาด้านการนัดพบเท่าใด เพียงแต่ผู้เข้าอบรมจะชื่นชอบการถ่ายรูปกันมาก ทำให้การเคลื่อนย้ายไปทัศนศึกษาในแต่ละจุดใช้เวลานานพอสมควร
6. ศูนย์จัดทำ share folder ชื่อ students > JTAT2013 ไว้สำหรับแชร์รูปภาพที่ทางศูนย์ถ่ายไว้ รวมถึง Power Point และ Poster งานกลุ่มที่ผู้เข้าอบรมจัดทำขึ้น ทั้งนี้ผู้ประสานงานได้สำเนาภาพถ่าย และสื่อการสอนเหล่านั้นกลับมาและเก็บไว้ใน share folder ของศูนย์JFBKK
7. ก่อนเดินทางไปอบรมได้มีการตั้งกลุ่มJTAT Kansai 2013 ในเฟซบุคเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ ระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน ระหว่างการอบรมที่ศูนย์ก็ได้มีการใช้เฟซบุคในการติดต่อ การแชร์รูปภาพและข้อมูลต่างๆ จึงทำให้การติดต่อต่างๆ เป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้หลังจากกลับมาแล้วก็ยังใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้เข้าอบรมต่อไป อนึ่ง ผู้เข้าอบรมบางท่านไม่ได้ใช้เฟซบุค จึงยังมีการติดต่อทางอีเมลควบคู่กันไปด้วย
ภาคผนวก
1. รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการอบรม ครั้งที่ 6 ณ ศูนย์คันไซ ประจำปี พ.ศ. 2556
2. ตารางกำหนดการโดยละเอียด
3. ประมวลภาพกิจกรรมของศูนย์คันไซ
อนึ่ง แบบสอบถามหลังการอบรม และรายงานแสดงรายจ่ายนั้น ทางศูนย์คันไซกำลังดำเนินการจัดทำอยู่ และจะส่งเป็นรายงานมาถึง JTAT ในประมาณเดือนมิถุนายน
รายชื่อผู้เข้าอบรม ณ ศูนย์คันไซ 7-27 เม.ย. 2556
JTAT Kansai 2013
No. | ชื่อ-สกุล | สถาบัน | หมายเหตุ |
1 | น.ส.ทัดชา อินทร์เนื่อง | โรงเรียนวิสุทธรังษี | |
2 | นาย เพรียวพันธุ์ คนซื่อ | โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม | Shinki 16 |
3 | นาย ธงชัย โพธิ์ทอง | โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ | Shinki 16 |
4 | น.ส.ณิชาภา ชนะชัยรุ่งกมล | โรงเรียนศรียานุสรณ์ | Shinki 16 |
5 | น.ส.ลินดา มะเย็ง | โรงเรียนสุไหงโก-ลก | Shinki 16 |
6 | น.ส.นฤมล สุทนต์ | โรงเรียนสามโก้วิทยาคม | Shinki 16 |
7 | น.ส.นัทธมล อำลา | โรงเรียนวัดพุทธบูชา | Shinki 16 |
8 | น.ส.ศศิธร ลิ่มพิทักษ์ | โรงเรียนแก่งคอย | Shinki 16 |
9 | นาย อุดมศักดิ์ ภาบุตร | โรงเรียนบ้านม่วงพิทยาคม | Shinki 16 |
10 | น.ส.วริฐา งาคชสาร | โรงเรียนเสิงสาง | Shinki 16 |
11 | น.ส.ศิริเพ็ญ ศรีลาศักดิ์ | โรงเรียนอุ่มเหม้าประชาสรรค์ | Shinki 16 |
12 | นาง ชญานิษฐ์ เนืองทอง | โรงเรียนมุกดาวิทยานุกูล | |
13 | นาย สุจิน นามสทอน | โรงเรียนมุกดาวิทยานุกูล | |
14 | นาง รุ่งศิริ ทิพย์อักษร | โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม | |
15 | น.ส.มลฤดี สีบัวบุญ | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |
16 | น.ส.ชุติมา นากาจิมา | โรงเรียนสตรีนนทบุรี | |
17 | นาง พจนี ศิริอักษรสาสน์ | มหาวิทยาลัยรามคำแหง | |
18 | น.ส.ดวงเนตร ดำริห์ | โรงเรียนทุ่งเทิงยิ่งวัฒนา | |
19 | นาง สุรณี ติดมา | โรงเรียนศรีวิไลวิทยา | |
20 | น.ส.สุธาทิพย์ ฟองสมบูรณ์ | โรงเรียนสตรีอ่างทอง | |
21 | น.ส.ชนัญญ์ธร รุ่งธัญนิธิธรณ์ | โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา | |
22 | นาง วิภาวรรณ คูณลาภ | โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ | |
23 | น.ส.ธีรา พงศ์ศาสตร์ | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี | |
24 | น.ส.ณัฐรดา กระจ่างฐิตินันท์ | โรงเรียนราชาธิวาส | |
25 | นาง เพ็ญจิตต์ สุวรรณศรี | โรงเรียนราชินีบูรณะ | |
26 | น.ส.อาภาพร เนาสราญ | The Japan Foundation | ผู้ประสานงาน |
ประมวลภาพกิจกรรมของศูนย์คันไซ