JFF2022slide
สมาคมครูภาษา
และวัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย

タイ国日本語日本文化教師協会
Japanese Language and Culture Teachers Association of Thailand (JTAT)

รายงานสรุปโครงการอบรมครูระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่น ครั้งที่ 9

รายงานสรุปผลโครงการอบรมครูระยะสั้นที่ประเทศญี่ปุ่นครั้งที่ 9 ปี พ.ศ. 2559
ณ เจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ ประเทศญี่ปุ่น
ระหว่างวันที่ 2 – 22 เมษายน 2559

ผู้จัด

  1. สมาคมครูภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย (JTAT)
  2. เจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์ภาษาญี่ปุ่น กรุงเทพฯ (JFBKK)
  3. เจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ ประเทศญี่ปุ่น (JFKC)
  1. จุดประสงค์ของโครงการ
    1. ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นและมีวิสัยทัศน์กว้างไกลจากประสบการณ์ที่ได้รับ
    3. ผู้เข้าอบรมสามารถรวบรวมสื่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมที่นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น
  2. จำนวนผู้เข้าอบรม
    1. อาจารย์ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นระดับมัธยมศึกษา จำนวน 19 คน
    2. ผู้ประสานงานชาวไทยจำนวน 2 คน (อาจารย์รสา เสวิกุล และอาจารย์สุพรพันธ์ จิตรบรรเทา)
  3. ค่าใช้จ่าย
    โครงการนี้ผู้เข้าอบรมใช้จ่ายตลอดโครงการคนละประมาณ 40,000 บาท จำแนกรายการใช้จ่ายได้ดังนี้
    1. ค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับกรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) – โอซาก้า (คันไซ) คนละประมาณ 25,000บาท
    2. ค่าเดินทาง ค่ากิจกรรมในประเทศญี่ปุ่นรวมการไปทัศนศึกษาที่นารา เกียวโต ฯลฯ คนละประมาณ 12,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ เดือนเมษายน 100 เยน ประมาณ 31 บาท)
    3. ค่าอาหารวันเสาร์อาทิตย์และค่าเดินทางประมาณ 4,000 บาท
    4. ค่าธรรมเนียมการยื่นขอวีซ่า 535 บาท
    5. ค่าตรวจสุขภาพประมาณ 1,000 บาท

      ทั้งนี้ ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าโดยความอนุเคราะห์ของเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย พร้อมกันนี้ ทางเจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ ได้อนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายในเรื่องการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร (ในวันธรรมดา) และค่าประกันชีวิต
  4. เนื้อหาการอบรม
    4.1 วิธีการอบรม
    เนื้อหาการอบรมแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
    -การใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตจริง
    -การแนะนำแหล่งข้อมูลและสื่อการสอน
    -การสัมผัสสังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่น

    โดยมีการอบรมทั้งในชั้นเรียนและการทัศนศึกษานอกชั้นเรียน การอบรมในชั้นเรียน อาจารย์ผู้รับผิดชอบในแต่ละชั้นเรียน จะแบ่งผู้เข้าอบรมเป็นกลุ่มย่อยตามความเหมาะสมของแต่ละกิจกรรม และมอบหมายภาระงานให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ โดยทุกคนในกลุ่มต้องมีบทบาท ในการออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนองานในส่วนของแต่ละบุคคลอีกด้วย ซึ่งเป็นการเรียนรู้การสืบค้นแหล่งข้อมูลและผลิตสื่อการสอนที่มีประโยชน์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นของตนเองได้ สำหรับการทัศนศึกษานอกชั้นเรียน มีทั้งการเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย ทำให้ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    ในส่วนของการเรียนรู้สังคม วัฒนธรรมญี่ปุ่น ได้มีการลงมือปฏิบัติจริงในการสัมผัส เรียนรู้วัฒนธรรมญี่ปุ่น เช่น การตีกลองไทโกะ การทดลองทำข้าวกล่องสไตล์ญี่ปุ่น การพับกระดาษโอริกามิ เป็นต้น รวมทั้งการไปทัศนศึกษาเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เช่น นารา เกียวโต ก็ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในศิลปะ วัฒนธรรมญี่ปุ่นจากประสบการณ์ตรง

    4.2 กิจกรรมการเรียนการสอน

 

วัน / เดือน /ปี

กิจกรรมการเรียนการสอน/เนื้อหาสาระโดยสรุป
และ ผลการสอน

ภาระงาน / ชิ้นงาน
ที่มอบหมายให้ผู้เรียนทำ

2 เมษายน 2559

11.00 .ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิ

18.00 เดินทางถึงสนามบินคันไซ

19.00 .ถึงที่พักของ Japan Foundation Kansai

-หัวหน้ากลุ่มดูแลสมาชิกของตนให้พร้อม หากพบปัญหาแจ้งผู้ประสานงาน

เมษายน 2559

วันหยุด ผู้เข้าอบรมแยกย้ายกันทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่น ไปชมซากุระที่สวนสาธารณะ

毛馬桜   หรือ ไปย่านนัมบะ

เที่ยวชมปราสาทโอซาก้า เป็นต้น 

 

 

เมษายน 2559

ภาคเช้า

ปฐมนิเทศ (การใช้ชีวิตในศูนย์คันไซ แนะนำสถานที่ ฝ่ายต่างๆภายในศูนย์) และชี้แจงรายละเอียดของคอร์สการอบรม

ภาคบ่าย

กิจกรรม アイスブレイク

การคิดทบทวนการเรียนรู้ ふりかえり①

แนะนำห้องสมุด

ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรม

ふりかえり① ส่งอาจารย์ผู้สอน

5 เมษายน 2559

ภาคเช้า

แนะนำ เว็บไซต์ ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น

ภาคบ่าย             

-รับฟังคำชี้แจง รายละเอียด การทำกิจกรรม キャラおにぎり

-รับฟังคำชี้แจง รายละเอียด การทำกิจกรรม

大阪オリエンテーリング

-แยกย้ายตามกลุ่มที่กำหนดให้  เตรียมความพร้อมการสำรวจเมืองโอซาก้า

-ผู้เข้าอบรมได้ทดลองศึกษาwebsite ด้านการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น

 -ทุกกลุ่ม วางแผน เตรียมการซื้ออุปกรณ์ทำกิจกรรมキャラおにぎり

 

-ทุกกลุ่ม วางแผน เตรียมการทำกิจกรรมสำรวจเมืองโอซาก้า大阪オリエンテーリング

เมษายน 2559

ทำกิจกรรม

大阪オリエンテーリング

-แต่ละกลุ่มเดินทางไปตามสถานที่ในโอซาก้าที่ถูกกำหนดให้ และไปสัมภาษณ์ชาวญี่ปุ่น (タスク) เพื่อนำมาทำ Presentation

7 เมษายน 2559

ภาคเช้า

-ทุกกลุ่มเตรียมและนำเสนอ  Presentation「大阪オリエンテーリング」

ภาคบ่าย

-แนะนำสื่อการสอน

-ชี้แจงการเดินทางไปทัศนศึกษาเมืองนารา 

ผู้เข้าอบรมทุกคนได้นำเสนอผลการทำกิจกรรม「大阪オリエンテーリング」

 

 

 

8 เมษายน 2559

ภาคเช้า

-แบ่งกลุ่ม เตรียมความพร้อมในการไปเยี่ยมชมโรงเรียนมัธยม 大阪府立 泉北高校

ภาคบ่าย

-แต่ละกลุ่มเตรียมกำหนดหัวข้อการทำรายงาน  

〈テーマ発表〉

-กิจกรรรมทำข้าวปั้น キャラおにぎり

 

-แต่ละกลุ่มได้คิดหัวข้อและคำถาม ที่จะนำไปสนทนากับนักเรียนมัธยม พร้อมกับการแนะนำประเทศไทย หรือ โรงเรียนที่ตนเองสอน

-ฝึกทำข้าวปั้น キャラおにぎり

เมษายน 2559

ทัศนศึกษาเมืองนารา

 ゆう 

東向商店街

東大寺

-เรียนรู้และทดลองทำโซเม็ง

-รับประทานอาหารกลางวันและซื้อของที่ระลึก

-เที่ยวชมวัดโทไดจิ

10 เมษายน 2559

-กิจกรรมอิสระ  พักผ่อนตามอัธยาศัย

 

11 เมษายน 2559

ภาคเช้า

-ทัศนศึกษาที่ 阿倍野防災 センタ 

ภาคบ่าย

เยี่ยมชมโรงเรียนมัธยม 大阪府立 泉北高校

-เรียนรู้การรับมือกับภัยพิบัติ และได้ทดลองอยู่ในสถานการณ์แผ่นดินไหว 6-8 ริกเตอร์ และหากเกิดไฟไหม้จะปฏิบัติตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

แบ่งกลุ่ม สัมภาษณ์นักเรียนตามหัวข้อและคำถามที่เตรียมมา พร้อมกับการแนะนำประเทศไทย หรือ โรงเรียนที่ตนเองสอน

12 เมษายน 2559

ภาคเช้า

การคิดทบทวนการเรียนรู้ ふりかえり②

ภาคบ่าย

-ประกวดผลงานกิจกรรม キャラおにぎり

-ทุกกลุ่มเตรียมความพร้อม หาข้อมูล เตรียมการนำเสนอหัวข้อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น

-ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรม
ふりかえり② ส่งอาจารย์ผู้สอน


-คณะกรรมการให้คะแนนผลงาน
キャラおにぎり

 
-สมาชิกในกลุ่มระดมสมอง หาข้อมูล เตรียมผลิตสื่อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น

13 เมษายน 2559

ภาคเช้า

แนะนำการ์ตูน อะนิเมะ ที่สามารถนำมาเป็นสื่อการสอนภาษาญี่ปุ่นได้

กิจกรรมโอริกามิ

ภาคบ่าย


-ทุกกลุ่มเตรียมความพร้อม หาข้อมูล เตรียมการนำเสนอหัวข้อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น
 (ต่อ)

 -ผู้เข้าอบรมฝึกกิจกรรมกลุ่มในการนำการ์ตูน อะนิเมะ มาเป็นสื่อการสอนภาษาญี่ปุ่น

-ฝึกการพับกระดาษโอริกามิ

งานรดน้ำขอพรจากอาจารย์เนื่องในเทศกาลสงกรานต์

-สมาชิกในกลุ่มระดมสมอง หาข้อมูล เตรียมผลิตสื่อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น

1เมษายน 2559

ภาคเช้าบรรยาย

– ชี้แจงเรื่องการทัศนศึกษาเมืองเกียวโต

– เรื่องแจ้งให้ทราบ

-ทุกกลุ่มเตรียมความพร้อม หาข้อมูล เตรียมการนำเสนอหัวข้อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น(ต่อ)

ภาคบ่าย

– กิจกรรมการตีกลองญี่ปุ่น 和太鼓

-สมาชิกในกลุ่มระดมสมอง หาข้อมูล เตรียมผลิตสื่อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น

 

 

 

-ฝึกประสบการณ์จริง การตีกลองญี่ปุ่น

15 เมษายน 2559

ทัศนศึกษาเมืองเกียวโต

 丸久小山園

– イオン 久御山

– 金閣寺

-พักที่ホテル 秀峰閣  

 

-ทัศนศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมืองเกียวโต


-พักที่โรงแรมแบบญี่ปุ่น
 旅館

16 เมษายน 2559

ทัศนศึกษาเมืองเกียวโต

 清水寺

– 錦市場

– 京都伝統産業 ふれあい 

 

-ทัศนศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมืองเกียวโต

-ฝึกประสบการณ์จริงการทำ กระเป๋าผ้า 京友禅

17 เมษายน 2559

กิจกรรมอิสระ  พักผ่อนตามอัธยาศัย

1เมษายน 2559

ภาคเช้า

การคิดทบทวนการเรียนรู้ ふりかえり③

-เตรียมความพร้อมการไปเยี่ยมชม 武庫川女子大学

ภาคบ่าย

– เรื่องแจ้งให้ทราบ

– การเขียนพู่กัน 書道

– แนะนำตำราเรียน

-ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรม

ふりかえり③ส่งอาจารย์ผู้สอน

-แต่ละกลุ่มได้เตรียมความพร้อมข้อมูล ที่จะนำไปสนทนากับนักศึกษา พร้อมกับการแนะนำประเทศไทย หรือ โรงเรียนที่ตนเองสอน

-ฝึกประสบการณ์จริง การเขียนพู่กัน

-แนะนำตำราเรียน ทุกคนสามารถเลือกตำราที่สนใจได้ในราคาไม่เกิน 4,000 เยน

19 เมษายน 2559

ไปเยี่ยมชม   武庫川女子大学

-ทัศนศึกษาเยี่ยมชม 武庫川女子大学

-พูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ทำกิจกรรมร่วมกับนักศึกษา

20 เมษายน 2559

ภาคเช้า

เตรียมการนำเสนอผลงาน

ภาคบ่าย


ทุกกลุ่มนำเสนอผลงาน

 

-ผู้เข้าอบรมเตรียมความพร้อมและทบทวนวิธีการใช้สื่อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น และเตรียมนำมานำเสนอ และซ้อมการนำเสนอกับอาจารย์ญี่ปุ่น

-ทุกกลุ่มนำเสนอสื่อการสอนด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น พร้อมตอบข้อซักถามจากผู้ฟัง

21 เมษายน 2559

ภาคเช้า

-การคิดทบทวนการเรียนรู้ ふりかえり④

-สรุปเนื้อหา กิจกรรม ตลอดการอบรม

ภาคบ่าย

-ชี้แจง การเตรียมตัวกลับประเทศ

-แลกเปลี่ยนเนื้อหา รูปภาพ สื่อที่แต่ละกลุ่มรวบรวม

ภาคค่ำ

-พิธีจบการอบรม

-ผู้เข้าอบรมทำกิจกรรม

ふりかえり④ ส่งอาจารย์ผู้สอน

-สรุป ประเด็น เนื้อหา กิจกรรมต่างๆ ตลอดการอบรม 3 สัปดาห์

 

 

 

-ผู้เข้าอบรมเข้าร่วมงานเลี้ยงพิธีจบและรับมอบวุฒิบัตรสำเร็จการอบรม 

22 เมษายน 2559

9.00 น. เดินทางสู่สนามบินคันไซ

11.50น. เดินทางจากสนามบินคันไซสู่สนามบินสุวรรณภูมิ

15.35น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิโดยสวัสดิภาพ

 

  1. วิทยากร
    1) อาจารย์ Imai Hisae   อาจารย์ประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ
    2) อาจารย์ Yumoto Kahori   อาจารย์ประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ
    3) อาจารย์ Miura Takashi   อาจารย์ประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ
    4) อาจารย์ Itou Hideaki   อาจารย์ประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ
    5) อาจารย์ Asai Ritsuko   อาจารย์ประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ
  1. การรับรองผลการอบรม
    ผู้เข้ารับการอบรมทุกคนได้รับวุฒิบัตรรับรองผลการฝึกอบรม 2016年度(JTAT)タイ日本語教師会教師研修 ณ เจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซ ในพิธีจบการอบรม
  2. การประเมินผลโครงการ
    สรุปจากข้อมูลคำถามปลายเปิดในตอนท้ายของการประเมิน การสังเกตผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจ เห็นประโยชน์ของการเข้ารับร่วมโครงการอบรมนี้เป็นอย่างยิ่ง และมีความพึงพอใจวิทยากรที่ให้ความรู้สามารถถ่ายทอดให้ผู้ฟังเข้าใจ ถ่ายทอดเนื้อหาวิชาให้เป็นที่น่าสนใจ มีความชัดเจนในการบรรยาย และการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ การใช้โสตทัศนูปกรณ์ การควบคุมชั้นเรียนได้ดีมาก ซึ่งจากผลของแบบสอบถามจบคอร์สที่ทางเจแปนฟาวน์เดชั่น ศูนย์คันไซได้จัดทำขึ้นนั้น พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความพึงพอใจต่อการอบรมโดยรวมถึง100% โดยแบ่งเป็นพึงพอใจมาก 95% และ พึงพอใจ5% และในหัวข้อที่ถามว่า การอบรมในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของท่านในอนาคตหรือไม่ นั้น ก็มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมถึง100% (โดยแบ่งเป็นพึงพอใจมาก 95%และ พึงพอใจ 5%)เช่นเดียวกัน และผู้เข้ารับการอบรมได้ให้ข้อเสนอแนะบางประการเพื่อปรับปรุงการจัดอบรมครั้งต่อไป เช่น การเพิ่มระยะเวลาการอบรมจาก 3 สัปดาห์ เป็น 1เดือน เพิ่มเนื้อหาทางภาษาให้มากขึ้น เป็นต้น ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า การอบรมในครั้งนี้ เป็นการอบรมที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ของความรู้ในเรื่องการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น รวมไปจนถึงการพัฒนาในด้านการใช้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เข้ารับการอบรมอีกด้วย
  3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    ผู้เข้ารับการอบรมสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น และมีวิสัยทัศน์กว้างไกลจากประสบการณ์ที่ได้รับ พร้อมทั้งได้รวบรวมสื่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรม ที่นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น โดยผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและองค์กร

ประมวลภาพ
การดำเนินงานโครงการพัฒนาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นสำหรับครูชาวไทย ครั้งที่ 9 ปี พ.ศ. 2559
ณ The Japan Foundation, Japanese-Language Institute, Kansai ,Osaka ประเทศญี่ปุ่น